• 001
  • 002
  • 003
  • 004
  • 005

ข่าวสารบริษัทล่าสุด

"Your family’s energy, we serve" เราภูมิใจด้วยบริการด้านพลังงานครบวงจร
ตั้งแต่ก๊าซหุงต้ม พลังงานสำหรับรถยนต์ เคมีภัณฑ์ และภาคอุตสาหกรรม

ปัญหาเกี่ยวกับการใช้แก๊สแอลพีจี [2012-09-10]

 รถยนต์ที่ใช้แก๊สแอลพีจีต้องการบำรุงรักษาเหมือนๆ กับใช้น้ำมัน ต้องหมั่นดูแลรักษาเอาใจใส่ดูแลมากกว่าใช้น้ำมันปกติ  ความร้อนที่เกิดขึ้นภายในห้องเผาใหม้สูงกว่าการใช้น้ำมันเป็นผลทำให้การสึกหรอเร็วกว่ากำหนดเป็นเรื่องธรรมดา ดังเราสิ่งที่ต้องพึ่งระวัง อาทิ เช่น ระบบระบายความร้อน หม้อน้ำ พัดลมระบาบความร้อน วาล์วน้ำ ปั้มน้ำ ฝาปิดหม้อน้ำ ถ้าเสื่อมตามสภาพ เช่น หม้อน้ำตัน พัดลมหมุนช้ากว่าปกติ วาล์น้ำตัน ปั้มน้ำไม่มีแรง ฝาปิดหม้อน้ำปิดไม่อยู่  อาการจะแสดงออกให้เราเห็น เช่น แอร์ไม่เย็น น้ำในหม้อพักหาย ต้องเติมน้ำเป็นประจำ ความร้อนขึ้นสูง ดูเข็มวัดความร้อนจะขึ้นจากระดับเดิม เปลี่ยนก่อนเสีย ไม่ใช่เสียแล้วค่อยเปลี่ยน ถ้าอาการเป็นหนัก ๆ เข้าเครื่องยนต์อาจพังก่อนได้เปลี่ยนเป็นแน่แท้ อันนี้คือสิ่งแรกที่ท่านเจ้าของรถจะต้องดูแลเบื้องต้น

    

 วาล์ว   เนื่องจากเรานำรถยนต์มาดัดแปลงใช้พลังงานทางเลือก (แก๊สแอลพีจี)  ผลข้างเคียงคือ วาล์วมักจะมีปัญหาเร็วกว่าการใช้น้ำมัน ยิ่งถ้าใช้แก๊สวิ่งในรอบสูงๆ เป็นเวลานาน ๆ เป็นประจำ ๆ การเสื่อมสภาพก็จะเร็วกว่ากำหนด ไม่ต้องตกใจมากครับ มันไม่พังเอาง่ายหรอก แต่ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีก็พังเร็วเป็นธรรมชาติของมัน วิธีใข้แก๊สให้ถูกวิธี ควรสลับใช้น้ำมันบ้างอย่างน้อย ร้อยละ 10% ก็ยังดี เช่น ใช้แก๊ส 90 กิโล ใช้น้ำมัน 10 กิโล หรือในกรณีที่ติดระบบหัวฉีด ยี่ห้อที่มีโปรแกรมจูนฉลาด ๆ สามารถกำหนดการใช้แก๊สได้ตามโปรแกรมที่สั่งไว้ เช่น ถ้ารอบต่ำกว่า 1,000 rpm ให้ใช้เป็นน้ำมัน ให้ใช้แก๊สตั้งแต่รอบ 1,001-4,000 rpm, เกินกว่า 4,001 ขึ้นไป ให้โปรแกรมสั่งจ่ายเป็นน้ำมัน   ถ้าใช้แบบนี้จะทำให้เครื่องยนต์ของเรา ๆ ท่าน ๆ สภาพของวาล์วไม่เสื่อมเร็วเหมือนกับการใช้แก๊สล้วน ๆ แต่ก็มีผลข้างเคียงครับ คือเปลื่องน้ำมันนิดหน่อย ถ้าติดไฟแดงหรือต่ำกว่าพันรอบ รถจะถูกใช้น้ำมัน แต่ผลดีคือเครื่องไม่โทรม อันนี้เหมาะมากสำหรับรถยนต์ที่มีค่าบำรุงรักษาแพงกว่าชาวบ้าน คงไม่ต้องบอกนะว่ายี่ห้อ............................

อาการสารพัดจะดับ ดังเช่น เบาดับ เลี้ยวดับ ยูดับ จอดเฉย ๆ ดับ ถอยดับ ดับกลางอากาศ  รอบเดินเบาสั่น

ปัญหามักเจอกันบ่อย ๆ เอาว่าเป็นอาการยอดฮิต เป็นโรดประจำของการใช้แก๊ส ไม่ว่าคันไหน ๆ ติดยี่ห้ออะไร ไม่ช้าก็เร็ว เป็นทุกคัน บางคัน ติดปุ๊บเจอปั๊บ หรือสักพักก็เจอ ถ้าโชดดีเป็นปี ๆ ถึงจะเจอ มันแปลกจริงหนอ สาเหตุของการเบาดับส่วนใหญ่เกิดจากส่วนผสมเชื้อเพลิง(แก๊ส)กับอากาศ ไม่เหมาะสมกัน น้อยหรือมากไป แล้วจะเกิดอาการสั่นหรือสารพัดจะดับได้ทั้งนั้น อาการนี้แยกออกเป็นสองส่วนหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

1. เกิดจากระบบแก๊ส เริ่มตั้งแต่การติดตั้งไม่ถูกวิธี เช่น

 1.1  ขนาดรูหัวฉีด ไม่เหมาะสม เล็กหรือใหญ่ไป ทำให้มีปัญหาในรอบเดินเบาและรอบเร่ง อาการสั่นในรอบเดินเบาแก๊สอาจจะไม่พอ  หรืออาจจะดับเมื่อถอดคันเร่ง แก๊สอาจจะหนาเกินไป(หรือทั่วไปมักเรียกว่าแก๊สท่วมห้องเผาใหม้) จะมีกลิ่นแก็สออกทางท่อไอเสียหรือห้องเครื่องยนต์ 

  2.2 ขนาดของความยาวท่อส่งแก๊สแต่ละสูบถ้ายาวไม่เท่ากัน ต่างกันเกินข้อกำหนด เครื่องจะสั่นเพราะสูบแต่ละสูบได้ปริมาณแก๊สต่างกัน  

1.3  ต่ำแหน่งองศาของหัวฉีดที่เจาะตรงท่อร่วมไอดีต่างกันทำให้ทิศทางแก๊สจ่ายแต่ละสูบไม่เหมือนกันต่างกัน อาการรอบเดินเบาจะสั่น

1.4  ต่ำแหน่งที่ติดตั้งของหม้อต้มแก๊ส ส่วนใหญ่ถ้าติดตั้งสูงเกินกว่าระดับท่อน้ำด้านบนของหม้อน้ำ มักจะมีปัญหาเรื่องน้ำไม่วนเข้าหม้อต้ม ทำให้แก๊สไม่เป็นไอ  หรือถ้าแหล่งที่มาของท่อน้ำที่ตัดต่อจากเครื่องยนต์ท่อน้ำทีใช้เข้าหม้อต้มแก๊สเล็กเกิน หม้อต้มจะไม่ร้อนหรือร้อนช้า  บางที่อาจจะมีคราบไอเย็นเกาะ ใช้แก๊สจะสะดุด  

1.5 แรงดันแก๊สที่หม้อต้มค่าปกติจะประมาณ 1.00-1.30 บาร์ แล้วแต่ยี่ห้อแล้วแต่รุ่น ถ้ามากกว่าหรือน้อยกว่าอาจจะมีปัญหาสะดุดหรือวิ่งไม่ออก

1.6 การปรับจูนแก๊ส ระบบดูด Mixer ตัว Mixer มีขนาดไม่เหมาะสมถ้าเล็กเกิน รอบเดินเบาจะสั่นต้องปรับวาล์วกลางสาย (ระหว่างหม้อต้มกับ Mixer) ให้แก๊สจ่ายมากขึ้นได้ อาจะหายสั่น แต่รถจะวิ่งไม่ออก ถ้า Mixer ใหญ่เกิน จะเกินอาการเบาดับสารจะดับ ถ้าแก๊สจ่ายมากในรอบเดินเบาจะมีกลิ่นแก๊สออกที่ปลายท่อไอดี หรือห้องเผาใหม้ รอบเดินเบาอาจจะสะดุด รอบเร่งวิ่งดี แต่ถ้าถอดคันเร่งอาจจะดับทันที่ แก๊สท่วมในห้องเผาใหม้ เครื่องยนต์บางรุ่นที่มีปีกผีเสื้อหันหน้าชี้ขึ้นบนฟ้า มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับตัว Mixer ถ้านำตัว Mixer ไปวางบนปีผีเสื้อ ตัวมันจะไปกั้นการไหลอากาศของ senser บางตัวของปีกผีเสื้อ ทำให้เกิดอาการสารจะดับ สารจะสั่น ปรับกันแบบวันเว้นวัน การเปลี่ยนกรองอากาศอาจจะต้องปรับจูนแก๊สใหม่ หรือถ้ากรองอากาศตันก็ต้องปรับอีกที อันนี้เป็นข้อด้วยของระบบ Mixer  

1.7 การปรับจูนระบบหัวฉีด ปรับโดยคอมพิวเตอร์และโปรแกรมการจูนแต่ละยี่ห้อไม่เหมือนกัน (ฉลาดมากฉลาดน้อย) เปรียบเหมือน โปกรแกรม  Windows 98 กับ Windows 8 การปรับจูนจะเริ่มต้นที่การจูน  Auto ทุกโปรแกรมเท่าที่เห็นในประเทศไทย เมื่อจูน Auto แล้ว ต้องนำรถไปวิ่งเพื่อปรับจูนแบบละเอี่ยดอีกครั้ง ถ้าปรับจูนไม่เหมาะสมกับรอบเครื่องยนต์จะเกิดอาการสั่นในรอบเดิน ออกตัวสะดุด เบาดับ วิ่งไม่ออก วิ่งอืดๆ ถ้าจูนบาง (นาน ๆ เข้าเกี่ยร์จะพังก่อนกำหนด) เครื่องยนต์จะร้อนและอายุการใช้งานจะน้อยกว่าปกติ  วิธีสังเกตุว่าแก๊สจนได้ดีนั้น ให้ขับใช้แก๊สและดูว่ารอบการเปลี่ยนเกี่ยร์ปกติจะเปลี่ยนประมาณ 2,000-3,500 rpm. ขับแบบคนทั่ว ๆไปนะ ไม่ใช่ซิ่ง ถ้ารอบการเปลี่ยนสูงกว่านี้ แก๊สบาง ถ้าแก๊สหนาจะเกิดอาการเบาดับ

1.8 ระบบไฟฟ้าแก๊สรถยนต์ การตัดต่อระบบไฟเข้ากล่องแก๊สก็เป็นจุดสำคัญจุดหนึ่ง การนำแหล่งจ่ายไฟไม่ถูกต้องก็มีผลต่อกล่องแก๊สหรือระบบไฟฟ้าของเครื่องยนต์ผิดปกติ เช่นแบตเตอร์เสื่อม หรือชาร์ทไม่เข้า ไฟฟ้าที่เข้ากล่องแก๊สแรงดันไฟ (Volt,Amp) น้อยกว่า  12 Volt. มักจะเกิดปัญหากับกล่องแก๊สได้ อาการอาจจะดับเอาเฉย ๆ หรือไม่ระบบจะตัดเป็นน้ำมันทันที่เมื่อใช้แก๊ส โดยมาตราฐานของการนำแหน่งจ่ายไฟมีหลักการดังนี้ สาย(Main) กล่องแก๊สจะนำไปต่อกับขั้วบวกและลบของแบตเตอร์รี่และต้องมีฟิวส์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรกล่องแก๊ส ( 10 Amp) สำหรับสวิชแก๊สต้องนำแหล่งไฟจากสวิชไฟออนที่คอกุญแจ (ต่อฟิวส์ป้องกัน10 Amp)ช่างบางท่านนำไฟมาจากแหล่งอื่นๆ เช่น ไฟที่หัวฉีดน้ำมัน ซึ่งผิดวิธี ไม่ควรนำมาใช้อย่างยิ่ง วิธีสังเกตุว่านำแหล่งจ่ายไฟไม่ถูกต้อง ให้สังเกตุเวลาสตาร์ทรถไฟที่สวิชแก๊สจะต้องไม่ดับหรือไฟที่สวิชหรี่ลงเวลาสตาร์ท ถ้ามีอาการดังกล่าวแสดงว่านำแหล่งจ่ายไฟมาจากที่อื่นที่ไม่ใช่ไฟออนที่คอกุญแจ อาการที่จะเจอ ดับกลางอากาศ บางครั้งดับทั้งน้ำมันและแก๊ส เค้าเรียกกันว่า "ตายปลาน้ำตื้น"

1.9 ถังแก๊ส ปัญหาที่เกิดจากการติดตั้งถังแก๊สมีน้อยมาก ส่วนจะเป็นปัญหาของเรื่องการเติมแก๊สได้น้อยโดยเฉพาะถังโดนัท หรืออาการเติมแก๊สไม่เข้า แต่ถ้าจะมีอาการเบาดับก็มีเหมือนกัน เช่น แก๊สหมดถังหรือเหลือน้อย ส่วนใหญ่ตัวชี้บอกปริมาณจะเพี้ยนมันบอกว่ามี แต่จริง ๆ แล้วมันเหลือน้อยหรือหมด เท่าที่เจออาการสียเร็วของถัง คือสายไฟตามขั้วต่าง ๆ หลวม หรือโซลินอยด์เสื่อมหรือแตกร้าวที่ตัว ส่วนใหญ่มักจะเจอถังที่ติดใต้ท้องรถ เนื่องจากจะเจอกับน้ำกระเด็นใส่จะทำให้ไปเร็ว ตัวมันเวลาทำงานมันร้อนพอเจอกับน้ำ ก็เจ็งเป็นเรื่องธรรมด๊าธรรมดา อาการจะแสดงออกคือจะตัดเข้าเป็นน้ำมัน แต่ก็มียี่ห้อแก๊สบางยี่ห้อ พอแก๊สหมด มันดับกลางอากาศทันที

2. อาการเกิดจากเครื่องยนต์  ถ้าเครื่องยนต์ทำงานผิดปกติ  อาการต่างที่เกิดขึ้นเวลาใช้แก๊ส ช่างเทพขนาดไหนก็แก้ไม่หาย

      

2.1 ใช้น้ำมันเครื่องยนต์สั่น รอบสวิ่งขึ้น ๆ ลง ๆ รถวิ่งไม่ออกไม่มีกำลัง วิ่งอืดๆ รอบการเปลี่ยนเกี่ยร์สูงขึ้นผิดปกติ ให้เช็ควาล์ว ปรับและแก้ไขตั้งวาล์วใหม่ ถ้าอาการดังกล่าวหายก็โชดดีไป แต่ตั้งวาล์วแล้วใช้ไปสักพักเป็นอีก คราวนี้ถึงขั้น บ่าวาล์วทรุด งานเข้าเลยครับท่าน ค่าใช้จ่ายเป็นหมื่้น

      

2.2 ใช้น้ำมันปกติแต่พอใช้แก๊ส เครื่องสั่น เบาดับ สารพัดจะดับ  ถ้ารถใช้เกินกว่าแสนกิโล และคันเร่งเป็นแบบใช้สาย ให้ล้างปีกผีเสื้อและมอเตอร์รอบเดินเบา เช็คหัวเทียน ถ้ามีคราบน้ำมันที่หัวเทียนเปลี่ยนโอริง  Coil จุดระเบิด สายไฟในกรณีที่เป็นจานจ่ายหรือ coil ที่มีสายไฟสวมเข้าหัวเทียน การดึงสายไฟออกต้องระวังอาจจะมีการขาดในได้ ควรใช้ของแท้ชนิดเดียวกับศูนย์บริการ ไม่ควรใช้ของเทียม เพราะอายุการใช้งานจะสั้น ปรับจูนใหม่ ในกรณีทีเป็นระบบดูด Mixer การเปลี่ยนกรองอาการหรือเป่ากรองอาจจะต้องทกการจูนใหม่ เนื่องจากส่วนผสมเชื้อเพลิงกับอากาศไม่เหมาะสม Senser ต่างๆ หรือชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ปกพร่อง ปกติจะเกิดไฟรูปเครื่องโชว์ ใช้ตัว Scan ODB II วัดค่า จะพบ Senser หรือชิ้นส่วนนั้นเสีย โดยจะแสดงเป็น  P xxxx  ให้เปลี่ยนตามนั้น

กลับหน้าที่แล้ว